messager
info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน
วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตาบลบ่อโพธิ์ “ยึดหลักธรรมาภิบาล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
พันธกิจ 1. ปรับปรุงและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีสุขภาพดี 3. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาอาชีพ 4. อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จุดมุ่งหมายการพัฒนา 1. ประชาชนตำบลบ่อโพธิ์ ได้รับความสะดวกด้านการคมนาคม ไฟฟ้า และสาธารณูปโภค 2. ตำบลบ่อโพธิ์เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และมีสุขภาพอนามัยที่ดี 4. ประชาชนตำบลบ่อโพธิ์ มีอาชีพ มีรายได้เสริม มีคุณภาพชีวิตที่ดีและดำเนินชีวิตตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง 5. ประชาชนมีการศึกษาที่ดี และมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย 6. ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและแหล่งท่องเที่ยว 7. ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศาสนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์มีการบริหารจัดการที่ดี ยุทธศาสตร์การพัฒนา 1. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุข ประชาชนมีสุขภาพดี 4. ส่งเสริมการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5. ส่งเสริมด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ทันสมัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 7. ส่งเสริมศาสนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. บริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค แนวทางการพัฒนา 1.1 ปรับปรุงและพัฒนาการคมนาคมและท่อระบายน้า แนวทางการพัฒนา 1.2 ปรับปรุงและพัฒนาด้านไฟฟ้า แนวทางการพัฒนา 1.3 ปรับปรุงและพัฒนาระบบประปา แนวทางการพัฒนา 1.4 จัดหาและพัฒนาแหล่งน้า ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แนวทางการพัฒนา 2.1 ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แนวทางการพัฒนา 2.2 พัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนวทางการพัฒนา 2.3 สร้างจิตสานึกและวินัยด้านความปลอดภัย แนวทางการพัฒนา 2.4 สงเคราะห์ช่วยเหลือ เด็ก สตรี ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุข ประชาชนมีสุขภาพดี แนวทางการพัฒนา 3.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ และ 2 ส แนวทางการพัฒนา 3.2 รณรงค์ ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนา 4.1 ส่งเสริมการสร้างรายได้และพัฒนาอาชีพ แนวทางการพัฒนา 4.2 ส่งเสริมการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ทันสมัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวทางการพัฒนา 5.1 ปรับปรุง พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนการสอน แนวทางการพัฒนา 5.2 เสริมสร้างทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้ แนวทางการพัฒนา 5.3 สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนา 6.1 เพิ่มพื้นที่สีเขียว และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนา 6.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา 6.3 จัดการระบบขยะมูลฝอย ยุทธศาสตร์ที่ 7 ส่งเสริมศาสนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา 7.1 ส่งเสริมศาสนาและอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 8 บริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางการพัฒนา 8.1 พัฒนาระบบการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน แนวทางการพัฒนา 8.2 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกด้าน แนวทางการพัฒนา 8.3 ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสร้างขวัญกาลังใจในการทางาน แนวทางการพัฒนา 8.4 จัดหาครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการทางาน แนวทางการพัฒนา 8.5 ปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ทางาน
อำนาจหน้าที่ของ อบต.
อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542) 1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้ 1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก 2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ 7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย 3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้ 1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร 2. ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ 4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ 5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ 6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว 7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ 8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต. 10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม 11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ 12. การท่องเที่ยว 13. การผังเมือง อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ 5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์ 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25. การผังเมือง 26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28. การควบคุมอาคาร 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด