messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ folder โครงสร้างหน่วยงาน info_outline ข้อมูลการติดต่อ public ร้องเรียนการทุจริต
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
local_cafe สถานที่ท่องเที่ยว
ภาพรอปรับปรุง
<แผ่นพับประชาสัมพันธ์>รอปรับปรุง
น้ำตกแก่งโตนน้ำตกแก่งโตน ตั้งอยู่ที่พื้นที่บ้านป่าปอบิด หมู่ที่ 10และบ้านแก่งทุ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อโพธิ์ ลักษณะโดยทั่วไป เป็นลานหินกว้าง ทอดเป็นแนวยาวไปทางลำน้ำเฟี้ย ระยะทางของสายน้ำตก ประมาณ 800 เมตร ลานหินทอดยาวเต็มไปด้วยแก่งน้อยใหญ่สลับกันไปกระแสน้ำไม่เชี่ยวมากนัก เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนแล้วยังเป็นแหล่งอาหารของคนในพื้นที่ เพราะมีทั้งหน่อไม้ กุ้ง หอย ปู ปลา และสภาพแวดล้อมต่างๆ ยังไม่เสื่อมโทรม และยังอยู่ในแนวพื้นที่ของการอนุรักษ์ป่าชุมชน น้ำตกแก่งโตน จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ที่คนในพื้นที่ยังช่วยกันส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้คงอยู่ต่อไป สำหรับท่านที่สนใจจะเดินทางชมธรรมชาติ มารถติดต่อไปที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล บ่อโพธิ์ได้ทุกวัน เวลา ราชการ หรือสอบถามที่ที่ทำการกำนันตำบลบ่อโพธิ์ บ้านป่าปอบิด หมู่ที่ 10 ตำบลบ่อโพธิ์ หรือโทร 0.-55-009-809
ภาพรอปรับปรุง
<< เอกสารเพิ่มเติม>>รอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยว
ภาพ

รอปรับปรุง
<แผ่นพับประชาสัมพันธ์>

รอปรับปรุง
น้ำตกแก่งโตน

น้ำตกแก่งโตน ตั้งอยู่ที่พื้นที่บ้านป่าปอบิด หมู่ที่ 10และบ้านแก่งทุ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อโพธิ์ ลักษณะโดยทั่วไป เป็นลานหินกว้าง ทอดเป็นแนวยาวไปทางลำน้ำเฟี้ย ระยะทางของสายน้ำตก ประมาณ 800 เมตร ลานหินทอดยาวเต็มไปด้วยแก่งน้อยใหญ่สลับกันไปกระแสน้ำไม่เชี่ยวมากนัก เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนแล้วยังเป็นแหล่งอาหารของคนในพื้นที่ เพราะมีทั้งหน่อไม้ กุ้ง หอย ปู ปลา และสภาพแวดล้อมต่างๆ ยังไม่เสื่อมโทรม และยังอยู่ในแนวพื้นที่ของการอนุรักษ์ป่าชุมชน น้ำตกแก่งโตน จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ที่คนในพื้นที่ยังช่วยกันส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้คงอยู่ต่อไป สำหรับท่านที่สนใจจะเดินทางชมธรรมชาติ มารถติดต่อไปที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล บ่อโพธิ์ได้ทุกวัน เวลา ราชการ หรือสอบถามที่ที่ทำการกำนันตำบลบ่อโพธิ์ บ้านป่าปอบิด หมู่ที่ 10 ตำบลบ่อโพธิ์ หรือโทร 0.-55-009-809
ภาพ

รอปรับปรุง
<< เอกสารเพิ่มเติม>>

รอปรับปรุง
info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงานวิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตาบลบ่อโพธิ์ “ยึดหลักธรรมาภิบาล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”
อำนาจหน้าที่ของ อบต. อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542) 1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้ 1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก 2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ 7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย 3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้ 1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร 2. ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ 4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ 5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ 6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว 7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ 8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต. 10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม 11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ 12. การท่องเที่ยว 13. การผังเมือง อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ 5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์ 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25. การผังเมือง 26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28. การควบคุมอาคาร 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พันธกิจพันธกิจ 1. ปรับปรุงและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีสุขภาพดี 3. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาอาชีพ 4. อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จุดมุ่งหมายการพัฒนา 1. ประชาชนตำบลบ่อโพธิ์ ได้รับความสะดวกด้านการคมนาคม ไฟฟ้า และสาธารณูปโภค 2. ตำบลบ่อโพธิ์เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และมีสุขภาพอนามัยที่ดี 4. ประชาชนตำบลบ่อโพธิ์ มีอาชีพ มีรายได้เสริม มีคุณภาพชีวิตที่ดีและดำเนินชีวิตตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง 5. ประชาชนมีการศึกษาที่ดี และมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย 6. ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและแหล่งท่องเที่ยว 7. ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศาสนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์มีการบริหารจัดการที่ดี ยุทธศาสตร์การพัฒนา 1. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุข ประชาชนมีสุขภาพดี 4. ส่งเสริมการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5. ส่งเสริมด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ทันสมัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 7. ส่งเสริมศาสนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. บริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค แนวทางการพัฒนา 1.1 ปรับปรุงและพัฒนาการคมนาคมและท่อระบายน้า แนวทางการพัฒนา 1.2 ปรับปรุงและพัฒนาด้านไฟฟ้า แนวทางการพัฒนา 1.3 ปรับปรุงและพัฒนาระบบประปา แนวทางการพัฒนา 1.4 จัดหาและพัฒนาแหล่งน้า ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แนวทางการพัฒนา 2.1 ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แนวทางการพัฒนา 2.2 พัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนวทางการพัฒนา 2.3 สร้างจิตสานึกและวินัยด้านความปลอดภัย แนวทางการพัฒนา 2.4 สงเคราะห์ช่วยเหลือ เด็ก สตรี ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุข ประชาชนมีสุขภาพดี แนวทางการพัฒนา 3.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ และ 2 ส แนวทางการพัฒนา 3.2 รณรงค์ ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนา 4.1 ส่งเสริมการสร้างรายได้และพัฒนาอาชีพ แนวทางการพัฒนา 4.2 ส่งเสริมการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ทันสมัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวทางการพัฒนา 5.1 ปรับปรุง พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนการสอน แนวทางการพัฒนา 5.2 เสริมสร้างทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้ แนวทางการพัฒนา 5.3 สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนา 6.1 เพิ่มพื้นที่สีเขียว และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนา 6.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา 6.3 จัดการระบบขยะมูลฝอย ยุทธศาสตร์ที่ 7 ส่งเสริมศาสนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา 7.1 ส่งเสริมศาสนาและอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 8 บริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางการพัฒนา 8.1 พัฒนาระบบการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน แนวทางการพัฒนา 8.2 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกด้าน แนวทางการพัฒนา 8.3 ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสร้างขวัญกาลังใจในการทางาน แนวทางการพัฒนา 8.4 จัดหาครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการทางาน แนวทางการพัฒนา 8.5 ปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ทางาน
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน

วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตาบลบ่อโพธิ์ “ยึดหลักธรรมาภิบาล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”
อำนาจหน้าที่ของ อบต.

อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542) 1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้ 1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก 2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ 7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย 3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้ 1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร 2. ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ 4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ 5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ 6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว 7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ 8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต. 10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม 11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ 12. การท่องเที่ยว 13. การผังเมือง อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ 5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์ 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25. การผังเมือง 26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28. การควบคุมอาคาร 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พันธกิจ

พันธกิจ 1. ปรับปรุงและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีสุขภาพดี 3. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาอาชีพ 4. อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จุดมุ่งหมายการพัฒนา 1. ประชาชนตำบลบ่อโพธิ์ ได้รับความสะดวกด้านการคมนาคม ไฟฟ้า และสาธารณูปโภค 2. ตำบลบ่อโพธิ์เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และมีสุขภาพอนามัยที่ดี 4. ประชาชนตำบลบ่อโพธิ์ มีอาชีพ มีรายได้เสริม มีคุณภาพชีวิตที่ดีและดำเนินชีวิตตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง 5. ประชาชนมีการศึกษาที่ดี และมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย 6. ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและแหล่งท่องเที่ยว 7. ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศาสนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์มีการบริหารจัดการที่ดี ยุทธศาสตร์การพัฒนา 1. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุข ประชาชนมีสุขภาพดี 4. ส่งเสริมการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5. ส่งเสริมด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ทันสมัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 7. ส่งเสริมศาสนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. บริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค แนวทางการพัฒนา 1.1 ปรับปรุงและพัฒนาการคมนาคมและท่อระบายน้า แนวทางการพัฒนา 1.2 ปรับปรุงและพัฒนาด้านไฟฟ้า แนวทางการพัฒนา 1.3 ปรับปรุงและพัฒนาระบบประปา แนวทางการพัฒนา 1.4 จัดหาและพัฒนาแหล่งน้า ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แนวทางการพัฒนา 2.1 ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แนวทางการพัฒนา 2.2 พัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนวทางการพัฒนา 2.3 สร้างจิตสานึกและวินัยด้านความปลอดภัย แนวทางการพัฒนา 2.4 สงเคราะห์ช่วยเหลือ เด็ก สตรี ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุข ประชาชนมีสุขภาพดี แนวทางการพัฒนา 3.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ และ 2 ส แนวทางการพัฒนา 3.2 รณรงค์ ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนา 4.1 ส่งเสริมการสร้างรายได้และพัฒนาอาชีพ แนวทางการพัฒนา 4.2 ส่งเสริมการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ทันสมัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวทางการพัฒนา 5.1 ปรับปรุง พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนการสอน แนวทางการพัฒนา 5.2 เสริมสร้างทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้ แนวทางการพัฒนา 5.3 สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนา 6.1 เพิ่มพื้นที่สีเขียว และปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนา 6.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา 6.3 จัดการระบบขยะมูลฝอย ยุทธศาสตร์ที่ 7 ส่งเสริมศาสนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา 7.1 ส่งเสริมศาสนาและอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 8 บริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางการพัฒนา 8.1 พัฒนาระบบการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน แนวทางการพัฒนา 8.2 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกด้าน แนวทางการพัฒนา 8.3 ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสร้างขวัญกาลังใจในการทางาน แนวทางการพัฒนา 8.4 จัดหาครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการทางาน แนวทางการพัฒนา 8.5 ปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ทางาน
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงานสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1.1 ที่ตั้ง (1) องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 (2) ที่ตั้ง เลขที่ 115 หมู่ที่ 2 บ้านน้ำเลา ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากอำเภอนครไทย 22 กิโลเมตร พิกัดทางภูมิศาสตร์ N 0712119 E 1900510 1.2 เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ มีเนื้อที่โดยประมาณ 103,125 ไร่ หรือประมาณ 165 ตร.กม. 1.3 ภูมิประเทศ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ยางโกลน อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ลักษณะภูมิประเทศ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสลับกับเชิงเขา มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่ราบ ประมาณ 8,750 ไร่ พื้นที่ภูเขา ประมาณ 132,494 ไร่ พื้นที่การเกษตร ประมาณ 24,961 ไร่ พื้นที่ปศุสัตว์ ประมาณ 12,321 ไร่ พื้นที่ประมง ประมาณ 133 ไร่ แหล่งน้ำ ประมาณ 1,269 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ ประมาณ 37,270 ไร่ ที่อยู่อาศัย ประมาณ 12,902 ไร่ ลักษณะภูมิอากาศ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับภูเขาทำให้อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว, ฤดูร้อน อากาศไม่ร้อนนัก, ฤดูฝนมีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ย 10-38 องศาเซลเซียส อาชีพส่วนใหญ่ของประชาชน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชทางการเกษตร ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียว อาชีพรองเช่น ทำสวน เลี้ยงสัตว์ (วัว,ไก่,ปลา) รับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาชุมชนอำเภอ เกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มเย็บผ้า กลุ่มจักรสานผักตบชวา กลุ่มผลิตเกลือสินเธาว์ เป็นต้น สถาบันหรือองค์กรทางศาสนาพุทธ จำนวน 11 แห่ง ดังนี้ 1. วัดบ้านบ่อโพธิ์วราราม ที่ตั้งหมู่ที่ 1 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 2. วัดบ้านน้ำเลา ที่ตั้งหมู่ที่ 2 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 3. วัดป่าผาประตูเมือง ที่ตั้งหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 4. วัดป่ารวก ที่ตั้งหมู่ที่ 3 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 5. วัดแก่งทุ่ง ที่ตั้งหมู่ที่ 4 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 6. วัดป่านาตาดี ที่ตั้งหมู่ที่ 11 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 7. วัดนาตาดี ที่ตั้งหมู่ที่ 6 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 8. วัดป่าอุดมมงคล ที่ตั้งหมู่ที่ 12 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 9. วัดบ้านวังชมพู ที่ตั้งหมู่ที่ 9 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 10. วัดห้วยเจ็ดคด ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 11. วัดป่าสำราญธรรม ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สถาบันหรือองค์กรทางศาสนาศริสต์ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1. คริสต์จักรบ้านนาตาดี ที่ตั้งหมู่ที่ 11 บ้านโคกเนินทอง 2. คริสต์จักรบ้านแก่งทุ่ง ที่ตั้งหมู่ที่ 10 บ้านป่าปอบิด 3. คริสต์จักรบ้านแก่งทุ่ง ที่ตั้งหมู่ที่ 4 บ้านแก่งทุ่ง ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี 1. ประเพณีปักธงชัย 2. ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ 3. ประเพณีบวงสรวงเจ้าปู่บ่อเกลือ 4. ประเพณีบุญปราสาทผึ้ง 5. ประเพณีทำบุญกลางบ้าน 6. ประเพณีเลี้ยงปู่ การสาธารณสุข มีการให้บริการทางสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบ่อโพธิ์ บุคลากร จำนวน 4 คน อสม. 86 คน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านน้ำเลา บุคลากร จำนวน 3 คน อสม. 81 คน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านแก่งทุ่ง บุคลากร จำนวน 3 คน อสม. 51 คน รวมบุคลากร จำนวน 10 คน อสม. 218 คน - อัตราการใช้ส้วมราดน้ำครบทุกหลังคาเรือนหรือร้อยละ 100 - หอกระจายข่าว จำนวน 13 แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ 100 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถานีตำรวจ จำนวน 1 แห่ง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน (พร้อมอุปกรณ์ดับเพลิง จำนวน 1 ชุด) ถังดับเพลิง จำนวน 16 ถัง ตู้ไฟจราจร จำนวน 3 ตู้
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1.1 ที่ตั้ง (1) องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 (2) ที่ตั้ง เลขที่ 115 หมู่ที่ 2 บ้านน้ำเลา ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากอำเภอนครไทย 22 กิโลเมตร พิกัดทางภูมิศาสตร์ N 0712119 E 1900510 1.2 เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ มีเนื้อที่โดยประมาณ 103,125 ไร่ หรือประมาณ 165 ตร.กม. 1.3 ภูมิประเทศ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ยางโกลน อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ลักษณะภูมิประเทศ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสลับกับเชิงเขา มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่ราบ ประมาณ 8,750 ไร่ พื้นที่ภูเขา ประมาณ 132,494 ไร่ พื้นที่การเกษตร ประมาณ 24,961 ไร่ พื้นที่ปศุสัตว์ ประมาณ 12,321 ไร่ พื้นที่ประมง ประมาณ 133 ไร่ แหล่งน้ำ ประมาณ 1,269 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ ประมาณ 37,270 ไร่ ที่อยู่อาศัย ประมาณ 12,902 ไร่ ลักษณะภูมิอากาศ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับภูเขาทำให้อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว, ฤดูร้อน อากาศไม่ร้อนนัก, ฤดูฝนมีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ย 10-38 องศาเซลเซียส อาชีพส่วนใหญ่ของประชาชน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชทางการเกษตร ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียว อาชีพรองเช่น ทำสวน เลี้ยงสัตว์ (วัว,ไก่,ปลา) รับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาชุมชนอำเภอ เกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มเย็บผ้า กลุ่มจักรสานผักตบชวา กลุ่มผลิตเกลือสินเธาว์ เป็นต้น สถาบันหรือองค์กรทางศาสนาพุทธ จำนวน 11 แห่ง ดังนี้ 1. วัดบ้านบ่อโพธิ์วราราม ที่ตั้งหมู่ที่ 1 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 2. วัดบ้านน้ำเลา ที่ตั้งหมู่ที่ 2 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 3. วัดป่าผาประตูเมือง ที่ตั้งหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 4. วัดป่ารวก ที่ตั้งหมู่ที่ 3 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 5. วัดแก่งทุ่ง ที่ตั้งหมู่ที่ 4 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 6. วัดป่านาตาดี ที่ตั้งหมู่ที่ 11 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 7. วัดนาตาดี ที่ตั้งหมู่ที่ 6 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 8. วัดป่าอุดมมงคล ที่ตั้งหมู่ที่ 12 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 9. วัดบ้านวังชมพู ที่ตั้งหมู่ที่ 9 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 10. วัดห้วยเจ็ดคด ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 11. วัดป่าสำราญธรรม ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สถาบันหรือองค์กรทางศาสนาศริสต์ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1. คริสต์จักรบ้านนาตาดี ที่ตั้งหมู่ที่ 11 บ้านโคกเนินทอง 2. คริสต์จักรบ้านแก่งทุ่ง ที่ตั้งหมู่ที่ 10 บ้านป่าปอบิด 3. คริสต์จักรบ้านแก่งทุ่ง ที่ตั้งหมู่ที่ 4 บ้านแก่งทุ่ง ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี 1. ประเพณีปักธงชัย 2. ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ 3. ประเพณีบวงสรวงเจ้าปู่บ่อเกลือ 4. ประเพณีบุญปราสาทผึ้ง 5. ประเพณีทำบุญกลางบ้าน 6. ประเพณีเลี้ยงปู่ การสาธารณสุข มีการให้บริการทางสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบ่อโพธิ์ บุคลากร จำนวน 4 คน อสม. 86 คน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านน้ำเลา บุคลากร จำนวน 3 คน อสม. 81 คน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านแก่งทุ่ง บุคลากร จำนวน 3 คน อสม. 51 คน รวมบุคลากร จำนวน 10 คน อสม. 218 คน - อัตราการใช้ส้วมราดน้ำครบทุกหลังคาเรือนหรือร้อยละ 100 - หอกระจายข่าว จำนวน 13 แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ 100 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถานีตำรวจ จำนวน 1 แห่ง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน (พร้อมอุปกรณ์ดับเพลิง จำนวน 1 ชุด) ถังดับเพลิง จำนวน 16 ถัง ตู้ไฟจราจร จำนวน 3 ตู้

× องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์
ขอเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ ประเมิน ITA ปี 2567 ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) (กดลิ้งค์ด้านล่างนี้⬇️)